
เมื่อพูดถึงละครที่อยู่คู่กับคนไทยมานมนานตั้งแต่โบราณมาก็ต้องนึกถึง “ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ” ที่ถูกเรียกติดปากกัน หรือก็คือ “ละครพื้นบ้านแท้ ๆ ของไทยเราจากตำนานต่าง ๆ”นั่นเอง ซึ่งแม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไปสู่โลกของเทคโนโลยีและมุมมองความคิดของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่น่าแปลกที่ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ยังคงอยู่ในความสนใจของคนจำนวนมากเหมือนเดิมไม่ว่าจะมีเรื่องใดก็ตาม โดยเฉพาะกับเด็กรุ่นใหม่ที่ติดละครจักร ๆ วงศ์ ๆ จนไม่อยากไปเรียนพิเศษวันเสาร์ – วันอาทิตย์เลยล่ะ ขนาดเราเองสมัยเด็กก็ยังรีบตื่นมาแต่เช้าตรู่เพื่อแปรงฟันอาบน้ำเตรียมตัวปูเสื่อรอละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ด้วยความคิดถึงละครเก่า ๆ ในวันนี้เราจึงอยากมาแนะนำ 3 ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่ดังข้ามยุคสมัยให้คุณได้รู้จักกัน เพราะเร็ว ๆ นี้คุณจะได้เห็นการกลับมารีเมคอีกแน่นอน
เกราะกายสิทธิ์

เมื่อพูดถึงละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ชื่อดังในดวงใจของหลายคนแบบข้ามยุคข้ามสมัยล่ะก็คงมีมากมายที่จะคิดถึง “เกราะกายสิทธิ์”กันแน่นอน หรือหากใครที่เกิดทันยุคเก่าหน่อย ชื่อต้นฉบับของเรื่องนี้ก็คือ “เกราะเพชรเจ็ดสี” ที่ดำเนินเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มชายหญิงเจ็ดคนที่พวกเขาจะออกมาตามการเปลี่ยนแปลงของวันได้โดยสีของเกราะคนหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นอีกสีตามสัญลักษณ์ของวันที่เริ่มต้นใหม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของร่างเจ้าของเกราะวิเศษ แต่ระยะหลังด้วยพลังวิเศษของเกราะทำให้พวกเขาสามารถออกมาสู้กับเหล่าอธรรมได้ครบทั้งเจ็ดคนในคราวเดียวเพื่อร่วมกันชิงบัลลังก์กลับคืนมาให้เสด็จพ่อกับเสด็จแม่ของพวกเขา โดยมีพระเอกคือ “สุริยะ”ที่ประจำเกราะของวันอาทิตย์ เป็นเรื่องที่ถ่ายทอดความรักของคู่แต่ละคู่ได้แตกต่างและอินมากกว่าเรื่องไหน ๆ เลย แถมแต่ละคนยังรักเดียวใจเดียว ไม่เจ้าชู้เหมือนพระเอกละครจักร ๆ วงศ์ ๆ เรื่องอื่น เพลงก็ไพเราะจนต้องโหลดมาฟังจนถึงตอนนี้ด้วย ซึ่งได้ข่าวว่าเร็ว ๆ นี้ก็จะมีการนำกลับมาสร้างรีเมคใหม่ด้วย กำลังอยู่ในช่วงแคสติ้งนักแสดง รอชมกันได้เลย
ลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับละคร “เกราะกายสิทธิ์”
เทพสามฤดู

เพิ่งผ่านพ้นไปกับละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่ดังข้ามยุคข้ามสมัยอย่าง “เทพสามฤดู”ที่มีความคล้ายกับเกราะกายสิทธิ์ตรงที่แต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงไปตามพลังวิเศษ ซึ่งเทพสามฤดูแต่ละคนในชาติก่อนก็คือเทพเทวดาสามองค์ที่ให้คำสัตย์ว่าจะร่วมต่อสู้หรือเป็นมิตรสหายพี่น้องที่ไม่ทิ้งกันจนกระทั่งพระพิรุณที่เป็นเทวดาแห่งฤดูฝนถูกร้องขอให้จุติลงไปเกิดในโลกมนุษย์เป็นลูกของกษัตริย์ ซึ่งทำให้เทพธิดาเมขลากับเทพพระราหูที่รู้เรื่องก็ไม่อยากให้พระพิรุณต้องไปเผชิญกับความลำบากและอุปสรรคในโลกมนุษย์แต่เพียงลำพังจึงได้ขอลงไปเกิดด้วยกัน แต่ทว่าอีกฝ่ายขอกษัตริย์ได้ขอลูกมาเพียงแค่คนเดียว องค์อิศราที่เป็นเทพชั้นสูงจึงได้ให้ทั้งสามไปเกิดเป็นหนึ่งเดียวโดยแต่ละคนจะออกมาตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เทพพระราหูจะออกมาในฤดูร้อน ,เทพพระพิรุณจะออกมาในฤดูฝน และเทพธิดาเมขลาจะออกมาในฤดูหนาว แต่โชคชะตากลับเล่นตลกให้ช่วงที่ทั้งสามจุติลงมาพร้อมกันเป็นฤดูร้อนพอดี ผู้ที่คลอดออกมาจึงเป็นพระราหูซึ่งมีลักษณะเป็นยักษ์ทำให้ถูกนำไปปล่อยในป่าและได้รับการเลี้ยงดูสั่งสอนวิชาจากพระฤาษีจนทั้งสามเติบโตมาต่อสู้กับเหล่าอธรรมซึ่งก็แปลกดี
ลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับละคร “เทพสามฤดู”
ปลาบู่ทอง

ขอบอกว่าตั้งแต่ดูละครจักร ๆ วงศ์ ๆ มาไม่เคยมีเรื่องไหนที่จะทำให้เราอินและลุ้นกับชะตาชีวิตอาภัพของตัวละครเอกได้เท่ากับเรื่อง “ปลาบู่ทอง”เลย แม้จะเป็นละครที่ดูซอฟต์ ๆ แบบเรื่องราวชีวิตชาวบ้าน แต่เพราะมีการนำความดราม่าของโชคชะตา “เอื้อย” ผู้เป็นนางเอกที่เสียแม่ไปอย่างกะทันหันจนแม่ของเธอได้มาเกิดเป็นปลาบู่และต้นไม้เพราะความห่วงลูก เธอก็ยังพยายามจะดูแลเป็นอย่างดีแต่ก็ไม่แคล้วต้องดูแม่เลี้ยงกับลูกตัวเองที่ใบหน้าเหมือนเธอทำร้ายอีก ยังมีพ่อแท้ ๆ ที่โดนมนต์สะกดทำให้เอาแต่ลงโทษเธอด้วย แม้วาสนาจะทำให้เธอได้ครองคู่กับพระโอรสของเจ้าเมืองก็ยังไม่แคล้วต้องถูกสองแม่ลูกตามมาเล่นงานจนทำเอาน่าติดตามและไม่อยากพลาดสักวินาทีเลย แบบเครียดกับชีวิตตัวละครขั้นสุดจนหยุดที่ความสนุกอยากดูต่อซ้ำ ๆ มันคือเสน่ห์ของปลาบู่ทองเลย แถมเพลงที่ร้องว่า “สงสารแต่แม่ปลาบู่…อาศัยอยู่ในฝั่งคงคา”ก็ติดหูมากจริง
ลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับละคร “ปลาบู่ทอง”